วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

หลักการ แนวคิด ทฤษฎี การจัดการบริหารสมัยใหม่


แนวคิดและทฤษฎี Elton Mayo

Elton Mayo  บิดาการบริหารงานแบบมนุษย์สัมพันธ์


   หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
Elton Mayo เป็นนักสังคมวิทยาทำงานอยู่ฝ่ายการวิจัยอุตสาหกรรมของฮาร์วาร์ด (The Department of Industrial Research at Harvard) เขาได้ชื่อว่าเป็น “บิดาของการจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์ หรือ การจัดการแบบเน้นพฤติกรรมศาสตร์” เขาและเพื่อนร่วมคณะวิจัย ได้แก่ John Dewey, Kurt Lewin, F.J. Roethlisber และ W.J. Dickson ได้ทำการศึกษาทัศนคติและปฏิกิริยาทางจิตวิทยาของคนงานการทำงานตามสถานการณ์ที่ต่างกันตามที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นที่ Western Electric’s Hawthorne Plant (1927 - 1932) ในการทดลองของเขาและคณะได้แบ่งการทดลองเป็นระยะต่อเนื่องกัน

   เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
Hawthorne Studies เป็นการทดลองวิจัยในโรงงาน Western Electric Company ในปี ค.ศ. 1927-1932 โดยทีมงาน Hawthorneภาย ใต้การนำของ Mayo ประกอบด้วยการวิจัยทดลอง 3 เรื่องใหญ่ ศึกษาสภาพห้องทำงาน (Room Studies)การสัมภาษณ์ (Interview Studies) และ การสังเกตการณ์ (Observation Studies)       

   สรุปผลการศึกษา Hawthorne
            ปัจจัยด้านปทัสถานทางสังคม เป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตไม่ใช้ปัจจัยด้านกายภาพ ความคิดที่ว่าคนเห็นแก่ตัว ต้องการเงินค่าตอบแทนมากๆเป็นการมองแคบๆ พฤติกรรมของคนงานถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสนับสนุนให้มีการทำวิจัยด้านผู้นำต่างๆ ผู้นำต้องเปิดโอกาสให้คนในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

   แนวความคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ของ  Elton  Mayo สาระสำคัญ 
1.แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่
1.1) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.2)ทฤษฎีสามมิติของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.3) การสนับสนุนจากสังคม

2.ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่
2.1) รู้จักและไว้วางใจผู้อื่น
2.2) รู้จักการติดต่อบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
2.3) การยอมรับและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.4) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

3.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ได้แก่
3.1) การทำงานมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
3.2) ให้อิสระในการคิดแกไขปัญหาแก่ผู้ร่วมงาน
3.3) ให้ผู้ร่วมงานเกิดศรัทธา
3.4) ให้รู้จุดมุ่งหมายของงาน
3.5) ความสำเร็จของงานเป็นของทุกคน
3.6) สร้างความสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมงานเกิดความรักผูกพัน
3.7) มอบหมายงานที่เขาพอใจสนใจและอยากทำ
3.8) ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
         3.9.) ให้ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
3.10) การทำงานควรมีการประชุมปรึกษาหารือกัน
3.11) ให้เขามีความรู้สึกรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์
3.12) ส่งเสริมให้พนักงานมีความก้าวหน้า

4.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ได้แก่
4.1) เมื่อเพื่อนพูดให้รับฟังอย่างเต็มใจ
4.2)ให้ความเป็นกันเองและเป็นมิตร
4.3) ยกย่องชมเชยเพื่อนร่วมงานด้วยความจริงใจ
4.4) อย่าแสดงว่าตนเหนือกว่าเพื่อนร่วมงาน
4.5) มีความจริงใจเสมอต้นเสมอปลาย
4.6) ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีทุกข์ร้อน
4.7) มีโอกาสในการพบประสังสรรค์นอกเวลาทำงาน
4.8) ยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงาน
4.9) ไม่โยนความผิดหรือซัดทอดความผิดให้กับเพื่อนร่วมงาน
4.10) ใจกว้างและยอมรับความสามารถของเพื่อนร่วมงาน

5.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามหลักพุทธรรม 3 หมวด ได้แก่
5.1) ฆราวาสธรรม 4    สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
5.2) สังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมนัตตา
5.3) พรหมวิหาร 4 เมตตา  กรุณา มุทิตา อุเบกขา

6.การสร้างทีม ได้แก่
6.1) มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก
6.2) สมาชิกเข้าใจบทบาทของตน
6.3) สมาชิกเข้าใจในกติกา กฎระเบียบ
6.4) การติดต่อสื่อสารที่ดี
6.5) มีการสนับสนุนระหว่างสมาชิก
6.6) สมาชิกเข้าใจกระบวนการทำงาน
6.7) สมาชิกมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
6.8) มีความร่วมมือในการทำงาน
6.9) มีการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถ
6.10) มีความรู้สึกพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

7.บทบาทของสมาชิกในทีม ได้แก่
7.1) บทบาทของแต่ละคนในทีม
7.2) พฤติกรรมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7.3) บทบาทของพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

8.ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
8.1) ความจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบและผูกพัน
8.2) ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะ
8.3) ความจำเป็นต้องพัฒนาความเข้าใจ
8.4) มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับทีมงาน

9.การสร้างความสัมพันธ์ในทีมงาน ได้แก่
9.1) ให้เกิดความรับผิดชอบในทีม
9.2) ให้เกิดความร่วมมือในการทำงานและปทัสถานสังคม
9.3) ให้เกิดความเข้าใจในการเผยแพร่ข่าวสาร
9.4) ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
9.5) มีการแข่งกันในการบริหาร
9.6) ไม่มีการแบ่งแยกศาสนา
9.7) ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ

10.แรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่
10.1) แรงจูงใจในการทำงานและบริหารงานบุคคล
10.2) ปัจจัยของแรงจูงใจในการทำงาน
10.3) แรงจูงใจกับความต้องการของบุคคล
10.4) ทฤษฎีแรงจูงใจต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้

     Apicha Prakobseng. ทฤษฎีการบริหารการจัดการสมัยใหม่ (Online).                 
          http://colacooper.blogspot.com/2012/10/elton- mayo.html, 31 สิงหาคม 2560.

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

ศึกษาการบริหารจัดการองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ ECT และ SWOT


มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้
(Museum Siam: Discovery Museum)

                     
          มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Museum Siam: Discovery Museum) ภายใต้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การ เรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่เน้น การสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของ แหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย์ และช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ให้กับประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทยเกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลกรวมถึงการสร้าง แนวคิดและภาพลักษณ์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ เป็นไปอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้น 

     พันธกิจ คือ...

1. ส่งเสริมประสานงาน การพัฒนาและอำนวยความสะดวกให้เด็กเยาวชน และประชาชนทั่วไป มีโอกาสแสวงหาความรู้ และต่อยอดความรู้อย่างต่อเนื่องผ่านพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
2. สร้างพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ และเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
3. ส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดตั้ง และมาตรฐานการจัดการพิพิธภัณฑ์ของประเทศ
4. เผยแพร่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่ปรากฏในประวัติ- ศาสตร์ วิถีชีวิต ความเชื่อ คตินิยม ศิลปะ และความหลากหลายของผู้คน และดินแดนจากทุกแหล่งอารยธรรม

                                                                                                                                     


         วิสัยทัศน์ คือ



หน่วยงานของเราเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการนำเสนอประวัติศาสตร์สังคมไทย โดยถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชน ภูมิปัญญา วิถีชีวิต คติความเชื่อ และศิลปวัฒนธรรม ผ่านนวัตกรรมใหม่เพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ นโยบายหลักของเรา คือ มุ่งเน้นการเผยแพร่ปรัชญา แนวคิด และองค์ความรู้ของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้สู่สังคมไทย เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึงการมุ่งมั่นขยายพื้นที่พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้เป็นย่านพิพิธภัณฑ์ และทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมีมาตรฐาน มีคุณภาพ และก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์




SWOT มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้...


    S หรือ Strengths หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในองค์กร ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งหรือเป็นจุดแข็งขององค์กร

     - ด้านบุคลากร ผู้บริหารมีทัศนคติว่าบุคลากรคือกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร จึงมีการสนับสนุนให้เกิดการ         พัฒนาบุคลากร ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้คำแนะนำ การฝึกอบรม
     - ด้านงบประมาณ มีรายได้จากค่าเข้าชมและการจำหน่ายของที่ระลึก
     - ด้านวัสดุ รูปทรงอาคารมีความงดงาม บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน มิวเซียมสยามมีจุดแข็งในด้านเป็น         พิพิธภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบแนว Discovery Museum ผู้เยี่ยมชมจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างเพลินเพลิดผ่านการใช้         เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการทำกิจกรรม
     - ด้านการปฏิบัติงาน ผู้บริหารมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงาน และมีการ         ปรับแผนการทำงานทุก 5 ปี ซึ่งเป็นวางกรอบการทำงาน หรือยุทธศาสตร์ของการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา               องค์กรอย่างต่อเนื่อง


      W หรือ Weaknesses หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในองค์กรที่ทำให้เกิดความอ่อนแอ หรือเป็นจุดอ่อน 

     - ด้านงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับจากค่าเข้าชมและการจำหน่ายของที่ระลึกยังไม่เพียงพอต่อการนำมาดำเนิน         การต่าง ๆ จึงต้องอาศัยเงินทุนสนับสนุนจากรัฐ และหน่วยงานเอกชน
     - ด้านวัสดุ มิวเซียมสยามมีจุดอ่อนคือ มีพื้นที่ที่จำกัด ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้ เนื่องจาก         บริเวณโดยรอบติดสถานที่สำคัญต่าง ๆ และพระบรมมหาราชวัง 

    
      O หรือ Opportunities หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ภายนอกองค์กรที่เอื้อประโยชน์ให้ซึ่งเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริม       การดำเนินงาน

     - ด้านบุคลากร บุคลากรเข้าอบรมกับหน่วยงานภายนอก เช่น การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การอบรมเทคนิคการ           ซ่อมแซมวัตถุโบราณด้วยวิธีการใหม่ ๆ การศึกษาดูงานเฉพาะด้าน
     - ด้านงบประมาณ ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล รวมถึงการสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชน
     - ด้านวัสดุ สถานที่ตั้งยังอยู่บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนไทย และคนต่างชาติ             ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมเรื่อย ๆ 

็จฏฏฏฏ

      T หรือ Threats หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายนอกองค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน

      - ด้านงบประมาณ ในบางครั้งงบประมาณที่ทางรัฐจัดสรรให้ไม่เพียงพอ จึงต้องของบสนับสนุนจากหน่วยงาน              เอกชนต่าง ๆ
      - ด้านวัสดุ มิวเซียมสยามมีจุดอ่อนคือ เพราะตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เข้มงวด เนื่องจากใกล้พระบรมมหาราชวัง การเดิน          ทางโดยรถประจำทางยังไม่สะดวก เนื่องจากมีรถโดยสารประจำทางผ่านจำนวนน้อยสาย

      - ด้านการปฏิบัติงาน สังคมไทยยังไม่ให้ความสนใจในการเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์เท่าที่ควร และหน่วยงานรัฐยังไม่มี          การสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นระบบ 


         สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. [ออนไลน์]. จาก http://www.ndmi.or.th/about-vision.php, สืบค้น                   เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560