วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

SWOT งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)


SWOT งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)
กลุ่มบริหารงานทั่วไป โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

ข้อมูลพื้นฐาน
       โรงเรียนวัดนวลนรดิศ มีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1
เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับ
จัดการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียน 2,538 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
130 คน เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว 127 ปี

วิสัยทัศน์
       วิชาการล้ำ เชิดชูคุณธรรม ดำรงความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล บนพื้นฐานพอเพียง

ปรัชญา
       เรียนดีเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ดำรงไทย

คำขวัญ
       นวลฯ จะงาม นามจะดี ก็ที่ศิษย์

โรงเรียนแบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มบริหารวิชาการ                   2. กลุ่มบริหารงบประมาณ
3. กลุ่มบริหารงานบุคคล                4. กลุ่มบริหารงานทั่วไป
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) สังกัดกลุ่มบริหารงานทั่วไป โดยมีขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดังนี้
จัดทำทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ของงานโสตทัศนศึกษาให้เป็นปัจจุบัน
ประสานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในการผลิตสื่อวิดิทัศน์และสื่ออื่น
จัดหาโสตทัศนูปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงเรียนให้เพียงพอ
จัดระเบียบการใช้และเอกสารเผยแพร่รายชื่อสื่อให้สะดวกในการใช้บริการบันทึกเสียง ถ่ายภาพ วีดิโอ
เพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงผลงานการให้บริการครู บุคลากร และนักเรียน
ให้บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
ให้บริการห้องประชุมสำหรับการจัดกิจกรรม
ให้บริการด้านถ่ายภาพและถ่ายวีดิโอ
ให้บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
บุคลากร มีจำนวน 5 ท่าน
จบการศึกษาตรงสาย และบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด จำนวน 2 ท่าน

Strengths คือ จุดแข็ง
1. ผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว เงินรายได้
สถานศึกษา และเงินสวัสดิการ ในการสนับสนุนการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อให้มีความทันสมัย และพร้อมใช้
อยู่เสมอ
2. องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน ได้แก่ สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมผู้ปกครอง
และครู เครือข่ายผู้ปกครอง ให้การสนับสนุน ทุนในการซ่อมแซมบำรุง วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นประจำทุกปี
3. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานจบตรงสายและบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกเทคโนโลยีสื่อสาร
การศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ได้แก่ ตำแหน่ง ครูวิชาเอกโสตทัศนศึกษา ครูวิชาเอกเทคโนโลยี
ทางการศึกษา ทำให้เข้าใจถึงขอบข่าย บทบาทหน้าที่ และสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ บรรลุ
วัตถุประสงค์
4. มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยจัดศึกษาดูงานการให้บริการโสตทัศนศึกษา การจัดหาวัสดุ
อุปกรณ์ ตลอดจนการบำรุงรักษา กับหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษากับโรงเรียนอื่นในสังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น โรงเรียนวัดรางบัว กรุงเทพมหานคร โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
5. มีชุมนุมแกนนำนักเรียนโสตทัศนศึกษาทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
ช่วยปฏิบัติงาน กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน ทำให้งานตามขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดำเนินการไปได้
ด้วยความรวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

Weaknesses คือ จุดอ่อน
1. โรงเรียนมีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างจากกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่
จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับจัดการเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้การปฏิบัติงานบางครั้งเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาเดิน
และขนย้ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจกรรม
2. ข้อจำกัดทางด้านบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นครูตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องมีชั่วโมง
ปฏิบัติการสอนตามที่สถานศึกษามอบหมาย ทำให้มีชั่วโมงในการสอนจำนวนมากพอสมควร บางครั้งกิจกรรม
ทับซ้อนกับคาบเรียน ทำให้นักเรียนไม่ได้เรียนในครั้งนั้นไป
3. การซ่อมแซมโสตทัศนูปกรณ์ที่เชื่อมถึงกัน เช่น เสียงตามสายระหว่างโรงเรียนทั้งสองพื้นที่
หากเกิดกรณีเสียหาย จะใช้เวลาในการซ่อมเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากระยะห่างที่อยู่ไกลกัน
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

Opportunities คือ โอกาส
1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อ
การสอนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป นำเงินมาใช้พัฒนาความสามารถ
ของนักเรียนแกนนำโสตทัศนศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ได้แก่ ค่ายพัฒนาทักษะความเป็นเลิศ
ด้านเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล
2. มหาวิทยาลัยสยาม (มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษากับโรงเรียนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ)
ตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การสนับสนุนทุนสำหรับส่งเสริมการดำเนินงาน
ด้านเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาทุกปี โดยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป
นำเงินมาให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปศึกษาดูงาน เช่น การศึกษาดูงานการผลิตรายการโทรทัศน์
เพื่อการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ นำกลับมาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
3. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสรรงบประมาณให้ครูในรูปแบบคูปองครู
คนละ 10,000 บาท บุคลากรในหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา) จึงมีโอกาสได้ลงทะเบียน
คอร์สเรียนการตัดต่อภาพยนตร์และแอนิเมชั่น เพื่อสร้างเสริมทักษะการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและ
เกิดประสิทธิผลกับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

Treats คือ อุปสรรค
1. ในบางครั้งเมื่อหน่วยงานต้นสังกัด มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง มักจะมีการเปลี่ยนแปลง
นโยบายทำให้โครงการที่จะให้การสนับสนุนถูกชะลอออกไป ส่งผลและมีอุปสรรคต่อการจัดการเงิน
ที่จะนำมาใช้บริหารโรงเรียนและงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

จัดทำโดย
นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
นาวสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แปลบทความ



Time To Level Up The UseOf ICT In Your Classroom?

Johan LindströmAssistant Principal in secondary
school in Stockholm , SwedenNovember 9,2014

Ref : http://www.itlresearch.com/research-a-reports/10-reports/40-2011-itl-research-findings-and-implications

date : oct. 10,2017

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะยกระดับการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนของคุณ

บทความโดย Johan Lindström
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงสต๊อกโฮม ประเทศสวีเดน9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014

ที่มา : http://www.itlresearch.com/research-a-reports/10-reports/40-2011-itl-research-findings-and-implications

สืบค้นวันที่ :  10 ตุลาคม 2560


The obvious question for every teacher is of course: “How should I as a teacher that know very little of these ICT tools be able to transform my teaching methods in the classroom?” At this article, I´ll try to describe a way that most teachers can use to get started on that journey.



คำถามที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับครูทุกคน“ผู้ที่เป็นครูรู้หรือไม่ว่าเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีไอซีทีสามารถที่จะเปลี่ยนวิธีการสอนของครูในห้องเรียนได้มากน้อยเพียงใด” ในบทความนี้จะได้พยายามอธิบายวิธีการที่ครูส่วนใหญ่สามารถทำได้ และใช้เป็นจุดเริ่มต้นและเดินตามเส้นทางเหล่านี้


  


The Use Of ICT In Your Classroom

การใช้เทคโนโลยีไอซีทีในห้องเรียนของคุณ

Most schools and teachers make the same journey when the move from an analogue classroom to a more digital one. ITL Teacher Survey from 2011 contains a chart (page 20) showing this journey in one picture:

โรงเรียนและครูส่วนใหญ่จะเดินทางเหมือนกันเมื่อย้ายจากห้องเรียนรูปแบบเดิมอนาล็อกไปเป็นรูปแบบสมัยใหม่แบบดิจิทัล การสำรวจจาก ITL Teacher 2011 (Innovative Teaching and Learning Research : SRI Inrernational) แสดงให้เห็นถึงแผนภาพดังต่อไปนี้



การใช้งานแบบพื้นฐาน








ร้อยละ 36 สืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ใช้อินเตอร์เน็ตร้อยละ 26 การปฏิบัติงานประจำวัน และขั้นตอนต่างๆร้อยละ 17 ทำแบบทดสอบ มอบหมายการบ้าน

การใช้งานระดับสูง

ร้อยละ 15 เขียน หรือแก้ไขเรื่องราว รายงาน และอื่นๆร้อยละ 15 วิเคราะห์ข้อมูล หรือสารสนเทศร้อยละ 12 การเข้าถึงทรัพยากรในชั้นเรียนออนไลน์ร้อยละ 9 ร่วมมือกับเพื่อนในการเรียนรู้ร้อยละ 6 สร้างสื่อนำเสนอมัลติมีเดียร้อยละ 5 นำไปใช้เป็นการจำลองหรือ          อนิเมชั่นร้อยละ 5 ทำงานร่วมกับผู้อื่นจากภายนอกร้อยละ 3 พัฒนาการจำลองหรืออนิเมชั่น

Most teachers that are new to using computers in the classroom starts by using Internet as a source of information, using the computer to share content (from teacher to student, the other way around or both ways) and as a substitute for pen and paper, just as is shown in the chart above. There is nothing wrong with using computers this way, but this is not what computers excel at. Todays computers are really, really good at calculating huge amounts of data almost instantly as well as creating simulations, animations and multimedia. The next level for using computers in the classroom should be to start using tools for these “higher level use of ICT” shown in the chart above in the classroom.

ครูส่วนใหญ่ที่เพิ่งเริ่มต้นกับการใช้คอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน จะเริ่มต้นด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์ในการแชร์เนื้อหา (จากครูกับนักเรียนวิธีอื่น ๆ หรือทั้งสองวิธี) ใช้คอมพิวเตอร์แทนปากกาและกระดาษ เช่นเดียวกับที่แสดงในแผนภูมิด้านบน ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใดในการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีนี้ แต่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความสามารถในการคำนวณข้อมูลจำนวนมหาศาลเกือบจะทันทีรวมถึงการสร้างภาพจำลองภาพเคลื่อนไหวและมัลติมีเดีย สำหรับการใช้ในระดับต่อไป การใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนควรเริ่มใช้เครื่องมือสำหรับ "การใช้ ICT ขั้นสูง" ที่แสดงในแผนภูมิด้านบนนี้

The obvious question for every teacher is of course:
How should I as a teacher that know very little of these ICT tools be able to transform my teaching methods in the classroom?”

คำถามสำหรับครูทุกคนแน่นอนว่า:"ฉันเป็นครูที่รู้น้อยมากเกี่ยวกับเครื่องมือเทคโนโลยีไอซีที เหล่านี้ ฉันสามารถเปลี่ยนวิธีการสอนของฉันในห้องเรียนได้อย่างไร


I´ll try to describe a way that most teachers can use to get started on that journey.
There are some ICT tools that you can start using in the classroom with some of the students in your class. If you start with the students that are interested and that normally complete their tasks sooner than the other kids in your class they will be an invaluable source for you when making this transformation. You can supply the ICT tools and directions to online resources where they can teach themselves how to use the ICT tools and they can start using them when they completed the tasks you´ve given them. Once they learn how to use the ICT tools they can teach other kids in your class and you as a teacher can of course learn from them as well. Soon all students in your class are able to work with ICT tools that you never thought you´d be able to use in your classroom. There is nothing that boosts the confidence in a student as much as when they are able to teach the grown ups!

ฉันจะพยายามอธิบายวิธีที่ครูส่วนใหญ่สามารถใช้เพื่อให้สามารถเริ่มต้นในเส้นทางนี้ได้ มีเครื่องมือเทคโนโลยีไอซีทีบางอย่าง ที่คุณสามารถเริ่มใช้ในห้องเรียนกับนักเรียนบางคนในชั้นเรียนของคุณ ถ้าคุณเริ่มต้นกับนักเรียนที่สนใจในการเรียน ซึ่งโดยปกติพวกเขาจะเสร็จสิ้นงานเร็วกว่าเด็กคนอื่น ๆ ในชั้นเรียนของคุณ พวกเขาจะเป็นแหล่งล้ำค่าสำหรับคุณเมื่อทำการเปลี่ยนแปลงนี้ คุณสามารถจัดหาเครื่องมือเทคโนโลยี ICT และเส้นทางไปยังแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่พวกเขาสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าจะใช้เครื่องมือ ICT อย่างไรเมื่อพวกเขาเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือ ICT พวกเขาก็สามารถสอนเพื่อนคนอื่น ๆ ในชั้นเรียนของคุณ และคุณเป็นครูสามารถเรียนรู้จากพวกเขาด้วยเช่นกัน
นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนของคุณสามารถทำงานกับเครื่องมือ ICT ที่คุณไม่เคยคิดว่าคุณจะสามารถใช้ในห้องเรียนได้ ไม่มีอะไรที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักเรียนได้มากเท่าที่เมื่อพวกเขาสามารถสอนผู้ใหญ่ที่กำลังเติบโตได้! (กล่าวโดยอีกนัยหนึ่ง คือการเรียนรู้ไปพร้อมกันระหว่างครูและนักเรียน)

Some ICT Resources To Get You Started

ตัวอย่างแหล่งเทคโนโลยี ICT เพื่อให้คุณเริ่มต้น

Wordle
A word-cloud generator. You copy and paste a text in the generator and it´ll calculate how many times each word is written. In the generated cloud the more frequent words are shown bigger in size. I pasted this article into Wordle and the picture above is the result. ”Using” and ”classroom” are the words I´ve used most frequently in my text. The students will find lots of more uses for wordclouds as soon as they start using them.

  Wordle คือการสร้างข้อความแบบ Typography ที่สร้างขึ้นให้อัตโนมัติจากเว็บไซต์หรือพิมพ์คำเข้าไปให้สร้าง จัดวางรูปแบบและเลือกโครงสี เทคนิค+เทคโนโลยีจาวาสคริปนี้ วิธีการนี้ต้องติดตั้ง Java script เพื่อทำงานให้หรือเล่น-แสดงให้ก่อน ลองติดตามและทดลองศึกษาเองเพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในงานออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์หรืองานภารกิจอื่นๆ ที่ต้องการให้เสริมเพื่อความสวยงาม


Algodoo
A free (for PC or Mac) simulation tool. Also available (but not free) for iPads. Very useful in physics education, but also useable in other subjects. In Algodoo you can simulate (and change the parameters) for instance gravity, friction and density. Since it´s possible to build freely the students will come up with other things to build and simulate than you as a teacher will do. A tutorial video on youtube shows an example of what you can do in Algodoo:

Algodooเครื่องมือจำลองฟรี (สำหรับ PC หรือ Mac) นอกจากนี้ยังมี (แต่ไม่ฟรี) สำหรับ iPads มีประโยชน์มากในด้านฟิสิกส์การศึกษา แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ในวิชาอื่น ๆ ใน Algodoo คุณสามารถจำลอง (และเปลี่ยนพารามิเตอร์) เช่นแรงโน้มถ่วงแรงเสียดทานและความหนาแน่น เนื่องจากจะสร้างได้อย่างอิสระ นักเรียนสามารถสร้างและจำลองได้มากกว่าครูที่สอนและทำ

Space Engine
A free simulation of our universe. You can freely explore whatever you´re interested in by moving around freely from the planets to the most distant galaxies. Works on PC only!

Space Engineจักรวาลของเรา จำลองฟรีของ คุณสามารถสำรวจสิ่งที่คุณสนใจได้โดยอิสระโดยการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ได้อย่างอิสระจากดาวเคราะห์ไปยังกาแลคซีที่ห่างไกลที่สุด ทำงานบนเครื่องพีซีเท่านั้น!

Minecraft
A game that has sold over 17 million copies on PC/Mac alone. It´s available on other platforms as well. Minecraft is a game where you can build freely with blocks. Millions of kids love this game and you can use Minecraft in the classroom as well in many different ways. There are lots of videos on Youtube shoving examples of what you can build.
A link with 25 examples of stuff built in Minecraft that will blow your mind away: http://mashable.com/2013/02/13/amazing-minecraft-creations/

Minecraftเกมที่ขายได้มากกว่า 17 ล้านเล่มในเครื่อง PC / Mac เพียงอย่างเดียว มีอยู่ในแพลตฟอร์มอื่นเช่นกัน Minecraft เป็นเกมที่คุณสามารถสร้างได้อย่างอิสระด้วยบล็อค เด็กนับล้าน ๆ รักเกมนี้และคุณสามารถใช้ Minecraft ในห้องเรียนได้หลายวิธี มีวิดีโอมากมายใน Youtube ที่นำตัวอย่างสิ่งที่คุณสามารถสร้าง
ตัวอย่างลิงค์ จำนวน 25 ตัวอย่าง ที่เว็บไซต์ http://mashable.com/2013/02/13/amazing-minecraft-creations/

Once you start using these (or other similar) tools in your classroom, share the ideas you get with your colleagues. One important aspect of changing the way teachers work in the classroom is to share ideas that work. Remember that anything that works in your classroom is worth sharing to other teachers. Sometimes teachers feel that a lesson or idea has to be ”worldclass” to be worth sharing, but anything that is tested in a classroom and that works is worth sharing. If another teacher say: ”I´ve tested this in my classroom and it works”, I´m sure you´re interested in listening to the other teacher. This works both ways!

เมื่อคุณเริ่มใช้เครื่องมือเหล่านี้ (หรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายคลึงกัน) ในห้องเรียนแล้วให้แบ่งปันความคิดที่คุณได้รับร่วมกัน สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนวิธีการทำงานของครูในห้องเรียนคือการแบ่งปันความคิดที่ได้ผล โปรดจำไว้ว่าทุกอย่างที่ใช้ในห้องเรียนของคุณน่าจะคุ้มกับครูอื่น ๆ บางครั้งครูรู้สึกว่าบทเรียนหรือแนวคิดจะต้องเป็น "worldclass" เพื่อแบ่งปันกัน แต่สิ่งที่ได้รับการทดสอบในห้องเรียนและผลงานนั้นคุ้มค่ากับการแชร์ ถ้าครูคนอื่นพูดว่า "ฉันได้ทดสอบห้องเรียนและห้องนี้แล้ว" ฉันแน่ใจว่าคุณสนใจที่จะฟังครูคนอื่น

   


จัดทำโดย นางสาวสุริศา  วารุณ    รหัสนิสิต   6014650890

             นายธนพล  กัณหสิงห์   รหัสนิสิต   6014650679

เขียนโครงการ



โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8”
วันศุกร์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 21 และ วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2560 เวลา 08.30 – 15.00 .
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคาร 6 ชั้น 2 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
 


     1.      ชื่อโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  เรื่อง “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8”

     2.      หน่วยงานที่รับผิดชอบ
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กลุ่มบริหารงานทั่วไป โรงเรียนวัดนวลนรดิศ

      3.      หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และมาตรา 65 กำหนดว่า ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ  
ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่กล่าวมาข้างต้น โรงเรียนวัดนวลนรดิศ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด ในการพัฒนาอบรมครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน ตามบริบทของสถานศึกษา ดังนั้น งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กลุ่มบริหารงานทั่วไป จึงได้สำรวจความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในโรงเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า โดยส่วนใหญ่ ต้องการพัฒนาทักษะการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน กระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (Feedback) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา (รายงานผลการประชุมครูประจำเดือนพฤษภาคม 2560)
ดังที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้ดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8” ให้กับครูและบุคลาการทางการศึกษา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าวมาเป็นผู้อบรม โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภายหลังจากการอบรมในโครงการดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และทักษะการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8 ได้ ส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอน บุคลากร และโรงเรียนในโอกาสต่อไป


     4.      วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
4.1   เห็นถึงความสำคัญของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.2   สามารถสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8
4.3   สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

      5.      เป้าหมาย
5.1 เชิงปริมาณ
      5.1.1 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ                   80 ของจำนวนบุคลากรในโรงเรียนทั้งหมด
      5.1.2 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ สามารถสร้าง
             บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8 ได้คนละ 1 ชิ้นงาน
5.2 เชิงคุณภาพ
      5.2.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้สร้างขึ้น มีแนวทางและวิธีการสร้าง
             ที่ถูกต้องเหมาะสม มีคุณภาพผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไป
      5.2.2 ผู้เข้ารับการอบรมนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเองได้อย่างมี
             ประสิทธิภาพ

      6.      ระยะเวลาการดำเนินการ
          6.1 ขั้นเตรียมการ
      6.1 เสนอโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย
          โปรแกรม Adobe Captivate 8” เพื่อขอรับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
      6.2 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุประกอบการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
      6.3 ดำเนินการติดต่อประสานงานวิทยากรฝึกอบรม
      6.4 ดำเนินการติดต่อประสานงานโภชนาการ กลุ่มบริหารงานทั่วไป เพื่อจัดเตรียมอาหารว่าง      อาหาร และเครื่องดื่ม
      6.5 ดำเนินการผลิตเอกสารประกอบการอบรม
      6.6 ดำเนินการจัดเตรียมห้องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์สำหรับการจัดอบรม
      6.7 ดำเนินการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามระเบียบพัสดุ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
          6.2 ขั้นดำเนินงาน
      6.1 ดำเนินการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย
           โปรแกรม Adobe Captivate 8” ในวันศุกร์ที่ 20 วัน เสาร์ที่ 21 และ วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม
          2560 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคาร 6 ชั้น 2
          โรงเรียนวัดนวลนรดิศ  กรุงเทพมหานคร
      6.2 แจกแบบประเมินผลเพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรม
          6.3 ขั้นสรุปผล
      6.1 สรุปผลโครงการจากการตอบแบบประเมินผลความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรม
      6.2 รายงานผลที่ได้รับต่อผู้บังคับบัญชา


     7.   เนื้อหาในการอบรม
          เนื้อหาในการอบรมแบ่งออกเป็น 7 หัวข้อใหญ่ ประกอบด้วย
          7.1 รู้จักกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
      7.1.1 ความหมาย ความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
      7.1.2 เทคนิคการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้น่าสนใจ และมีคุณภาพ
      7.1.3 การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
7.2 เครื่องมือพื้นฐาน
      7.2.1 การสร้าง Project
      7.2.2 ข้อความอธิบาย (Text Caption)
      7.2.3 ข้อความแบบเคลื่อนไหว (Animation Text)
      7.2.4 กรอบเน้น (Highlight Boxes)
      7.2.5 กรอบข้อความสำหรับคลิก (Click Box)
      7.2.6 การสร้างปุ่มกด (Button)
      7.2.7 การแทรกป้ายอธิบายแบบเปลี่ยนสถานะ (Rollover)
      7.2.8 กรอบป้อนข้อความ (Text Entry Box)
      7.2.9 รูปกราฟฟิก (Image)
      7.2.10 การใส่เสียง และ VDO
7.3 การสร้าง Text Animation
7.4 การจับหน้าจอภาพ (Capture movie)
      7.4.1 การตั้งค่าหน้าจอภาพ
      7.4.2 การจับหน้าจอภาพ
      7.4.3 การแก้ไข และตกแต่งสไลด์
      7.4.4 การปรับแต่ง Timeline
      7.4.5 การแก้ไขข้อความในสไลด์
      7.4.6 การเพิ่มสไลด์ การแทรกสไลด์
      7.4.7 การใส่สีพื้นหลังกับสไลด์


7.5 การสร้างแบบสอบถาม (Insert Question Slide)
      7.5.1 แบบสอบถามแบบปรนัยเลือกตอบหลายข้อ
      7.5.2 แบบสอบถามแบบเลือกตอบถูกผิด (ใช่หรือไม่ใช่)
      7.5.3 แบบสอบถามแบบเติมคำลงในช่องว่าง
      7.5.4 แบบสอบถามแบบเลือกตอบคำถามสั้นๆ
      7.5.5 แบบสอบถามแบบจับคู่
      7.5.6 แบบสอบถามแบบเลือกหมวดหมู่
7.6 การส่งออกและการเผยแพร่งาน (Publish)
      7.6.1 การส่งออกและการเผยแพร่ผลงาน (Publish) ในรูปแบบต่าง ๆ
      7.6.2 การกำหนดรูปแบบการส่งออกเพิ่มเติม เช่น การแทรกเสียง , การใส่ปุ่มควบคุม เป็นต้น
7.7 ฝึกปฏิบัติการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

     8.      ผู้ร่วมโครงการฝึกอบรม
          คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ จำนวน 153 คน
          แบ่งเป็น ข้าราชการครู จำนวน 120 คน ครูอัตราจ้าง 13 คน ลูกจ้าง 20 คน

     9.      งบประมาณ
          เงินอุดหนุน ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน               จำนวน 25,000 บาท
          ประกอบด้วยรายการใช้จ่ายดังต่อไปนี้
1)      ค่าวิทยากร                                    เป็นเงิน           9,000   บาท
2)      ค่าเอกสารประกอบการอบรม                เป็นเงิน           5,000   บาท
3)      ค่าวัสดุประกอบการฝึกอบรม                 เป็นเงิน           3,000   บาท
4)      ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง เครื่องดื่ม     เป็นเงิน           8,000   บาท
          หมายเหตุ  ขออนุมัติถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

      10.  วิทยากร
รศ.ดร.ณรงค์ สมพงษ์  , ผศ.ดร.สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และคณะ

      11.  การติดตาม ควบคุม และการบริหารความเสี่ยง
11.1 คณะทำงานประชุมวางแผนการดำเนินงาน เสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
11.2 กำกับติดตามงานที่มอบหมาย เพื่อดูความพร้อมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานให้
       ผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
11.3 ลดความเสี่ยงของการผู้เข้ารับการอบรมที่อาจติดภารกิจที่ไม่สามารถมาเข้าร่วมอบรมได้ตาม
       กำหนดการ โดยแจ้งเป็นประกาศของโรงเรียน และจัดทำบันทึกข้อความแจ้งแต่ละกลุ่มสาระการ
       เรียนรู้เพื่อให้เข้ารับการอบรมตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
11.4 หลังดำเนินการจัดโครงการทำการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม และประเมินผล
       งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

      12.  ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ
12.1 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่เห็นถึงความสำคัญของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
12.2 ร้อยละของการเข้าร่วมการอบรมของผู้เข้ารับการอบรมตามกำหนดการฝึกอบรม
12.3 จำนวนสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินระดับดี ขึ้นไป

      13.  การประเมินผลการอบรม
13.1 ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 80 เห็นถึงความสำคัญของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
13.2 ผู้เข้ารับการอบรมการมีส่วนร่วมและการทำกิจกรรมต่างๆ เข้าร่วมตามกำหนดการฝึกอบรม
      ร้อยละ 80
13.3 จำนวนสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมิน
       ระดับดี ขึ้นไป
13.4 ประเมินผลความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรม

          เสนอ เพื่อรับการอนุมัติโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 8”


                                                 (ลงชื่อ)  ………………………..……………….. ผู้เสนอโครงการ
                                                         ( นางสาวสุริศา วารุณ )

                                                 (ลงชื่อ)  ………………………..……………….. ผู้เสนอโครงการ
                                                         ( นายธนพล กัณหสิงห์ )


(ลงชื่อ)  ………..…………………..…………….. ผู้เห็นชอบโครงการ
                                                          ( นางผกานันท์ ใบศรี )
                                                ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไป


 (ลงชื่อ)  ………………………..……………….. ผู้อนุมัติโครงการ
                                                          ( นายพูลศักดิ์  จิตสว่าง )
                                                    ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนวลนรดิศ


จัดทำโดย นางสาวสุริศา  วารุณ    รหัสนิสิต   6014650890
             นายธนพล  กัณหสิงห์   รหัสนิสิต   6014650679