วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

SWOT งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)


SWOT งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)
กลุ่มบริหารงานทั่วไป โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

ข้อมูลพื้นฐาน
       โรงเรียนวัดนวลนรดิศ มีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1
เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับ
จัดการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียน 2,538 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
130 คน เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว 127 ปี

วิสัยทัศน์
       วิชาการล้ำ เชิดชูคุณธรรม ดำรงความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล บนพื้นฐานพอเพียง

ปรัชญา
       เรียนดีเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ดำรงไทย

คำขวัญ
       นวลฯ จะงาม นามจะดี ก็ที่ศิษย์

โรงเรียนแบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มบริหารวิชาการ                   2. กลุ่มบริหารงบประมาณ
3. กลุ่มบริหารงานบุคคล                4. กลุ่มบริหารงานทั่วไป
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) สังกัดกลุ่มบริหารงานทั่วไป โดยมีขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดังนี้
จัดทำทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ของงานโสตทัศนศึกษาให้เป็นปัจจุบัน
ประสานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในการผลิตสื่อวิดิทัศน์และสื่ออื่น
จัดหาโสตทัศนูปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงเรียนให้เพียงพอ
จัดระเบียบการใช้และเอกสารเผยแพร่รายชื่อสื่อให้สะดวกในการใช้บริการบันทึกเสียง ถ่ายภาพ วีดิโอ
เพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงผลงานการให้บริการครู บุคลากร และนักเรียน
ให้บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
ให้บริการห้องประชุมสำหรับการจัดกิจกรรม
ให้บริการด้านถ่ายภาพและถ่ายวีดิโอ
ให้บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
บุคลากร มีจำนวน 5 ท่าน
จบการศึกษาตรงสาย และบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด จำนวน 2 ท่าน

Strengths คือ จุดแข็ง
1. ผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว เงินรายได้
สถานศึกษา และเงินสวัสดิการ ในการสนับสนุนการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อให้มีความทันสมัย และพร้อมใช้
อยู่เสมอ
2. องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน ได้แก่ สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมผู้ปกครอง
และครู เครือข่ายผู้ปกครอง ให้การสนับสนุน ทุนในการซ่อมแซมบำรุง วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นประจำทุกปี
3. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานจบตรงสายและบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกเทคโนโลยีสื่อสาร
การศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ได้แก่ ตำแหน่ง ครูวิชาเอกโสตทัศนศึกษา ครูวิชาเอกเทคโนโลยี
ทางการศึกษา ทำให้เข้าใจถึงขอบข่าย บทบาทหน้าที่ และสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ บรรลุ
วัตถุประสงค์
4. มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยจัดศึกษาดูงานการให้บริการโสตทัศนศึกษา การจัดหาวัสดุ
อุปกรณ์ ตลอดจนการบำรุงรักษา กับหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษากับโรงเรียนอื่นในสังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น โรงเรียนวัดรางบัว กรุงเทพมหานคร โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
5. มีชุมนุมแกนนำนักเรียนโสตทัศนศึกษาทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
ช่วยปฏิบัติงาน กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน ทำให้งานตามขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดำเนินการไปได้
ด้วยความรวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

Weaknesses คือ จุดอ่อน
1. โรงเรียนมีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างจากกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่
จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับจัดการเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้การปฏิบัติงานบางครั้งเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาเดิน
และขนย้ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจกรรม
2. ข้อจำกัดทางด้านบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นครูตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องมีชั่วโมง
ปฏิบัติการสอนตามที่สถานศึกษามอบหมาย ทำให้มีชั่วโมงในการสอนจำนวนมากพอสมควร บางครั้งกิจกรรม
ทับซ้อนกับคาบเรียน ทำให้นักเรียนไม่ได้เรียนในครั้งนั้นไป
3. การซ่อมแซมโสตทัศนูปกรณ์ที่เชื่อมถึงกัน เช่น เสียงตามสายระหว่างโรงเรียนทั้งสองพื้นที่
หากเกิดกรณีเสียหาย จะใช้เวลาในการซ่อมเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากระยะห่างที่อยู่ไกลกัน
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

Opportunities คือ โอกาส
1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อ
การสอนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป นำเงินมาใช้พัฒนาความสามารถ
ของนักเรียนแกนนำโสตทัศนศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ได้แก่ ค่ายพัฒนาทักษะความเป็นเลิศ
ด้านเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล
2. มหาวิทยาลัยสยาม (มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษากับโรงเรียนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ)
ตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การสนับสนุนทุนสำหรับส่งเสริมการดำเนินงาน
ด้านเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาทุกปี โดยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป
นำเงินมาให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปศึกษาดูงาน เช่น การศึกษาดูงานการผลิตรายการโทรทัศน์
เพื่อการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ นำกลับมาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
3. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสรรงบประมาณให้ครูในรูปแบบคูปองครู
คนละ 10,000 บาท บุคลากรในหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา) จึงมีโอกาสได้ลงทะเบียน
คอร์สเรียนการตัดต่อภาพยนตร์และแอนิเมชั่น เพื่อสร้างเสริมทักษะการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและ
เกิดประสิทธิผลกับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

Treats คือ อุปสรรค
1. ในบางครั้งเมื่อหน่วยงานต้นสังกัด มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง มักจะมีการเปลี่ยนแปลง
นโยบายทำให้โครงการที่จะให้การสนับสนุนถูกชะลอออกไป ส่งผลและมีอุปสรรคต่อการจัดการเงิน
ที่จะนำมาใช้บริหารโรงเรียนและงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<< 

จัดทำโดย
นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
นาวสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น